10 มิถุนายน 2552

ขี้เหล็ก แก้ท้องผูก

ขี้เหล็ก

ใบขี้เหล็ก มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับ แก้ท้องผูก ช่วยเจริญอาหาร แก้ระดูขาว ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ
ส่วนดอกช่วยคลายเครียด ทำให้นอนหลับ และขจัดรังแค

ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ต้องคั้นน้ำทิ้งหลาย ๆ ครั้งก่อนจึงเอามาปรุงอาหารได้ นิยมนำมาทำแกงกะทิ หรือทำเป็นผักจิ้มจะช่วยระบายท้องได้ดีทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารหลายอย่างคือ วิตามิน เอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูงในดอกมีมากกว่าใบ
เอาใบขี้เหล็กมาบ่มรวมกับผลไม้จะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น

การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
- ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ รักษารังแค ขับพยาธิ
- ราก รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
- ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
- ทั้งต้น แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
- เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย
- กระพี้ รสขมเฝื่อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด
- ใบ รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการ นอนไม่หลับ
- ฝัก แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
- เปลือกฝัก แก้เส้นเอ็นพิการ
- ใบแก่ ใช้ทำปุ๋ยหมัก

ข้อควรระวัง

1. สมุนไพรพวกนี้ ให้ใช้ในขณะที่มีอาการท้องผูก ห้ามใช้ประจำ เพื่อจุดประสงค์ต้องการให้มีรูปร่างระหง และควรรับประทานยาสมุนไพรก่อนนอน
2. ขนาดที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับ "อายุ" เด็ก หรือผู้ที่ธาตุเบา ควรใช้ขนาดลดลง ถ้าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือ ธาตุหนัก ควรเพิ่มสมุนไพรเล็กน้อย

3. ห้ามใช้ในบุคคลที่กำลังตั้งครรภ์แก่

4. ระวังสำหรับผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับตับซึ่งอาจมีผลต่อตับ และมีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้

ขอบคุณข้อมูลจาก
คลังปัญญาไทย
วิกิพีเดีย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น